Social Icons

กระชายดำ

1111image

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Boesenbergia pandurata (Roxb.)
ชื่อวงศ์ : ZINGIBERACEAE
ชื่ออื่น : ว่านจังงัง ว่านพญานกยูง ว่านกั้นบัง ว่านกำบัง ว่านกำบังภัยกะแอน ระแอน (ภาคเหนือ) ขิงทราย (มหาสารคาม) ว่านเพชรดำ กระชายม่วง
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
     * ต้น กระชายดำเป็นพรรณไม้ล้มลุก ขนาดลำต้นสมบูรณ์เต็มที่สูงประมาณ 30 ซม. ส่วนของแกนกลางลำต้นจะมีลักษณะแข็ง มีกาบใบที่อาบหนา นุ่ม หุ้มแกนลำต้นไว้ ลำต้นโดยรวมจะอวบอุ้มน้ำเหมือนกับพืชล้มลุกทั่วไป
     * ใบ ใบของกระชายดำ เป็นใบเลี้ยงเดี่ยว ออกเรียงสลับซ้อนกันเป็นรูปกรวย และจะแยกออกจากกันเป็นอิสระเมื่อโตขึ้น สีของใบกระชายดำเมื่อเริ่มแตกใบอ่อนจะมีสีเข้มม่วงอมแดง และจะค่อยๆ สีจางไปเป็นสีเขียวเข้ม เส้นขอบใบจะมีสีแดงระเรื่อ หรืออมชมพูคล้ายรอยไหม้ กาบใบจะยาวเป็นร่อง แทงขึ้นมาจากหัวที่อยู่ในดิน ใบมีกลิ่นหอมเฉพาะขนาดของใบกว้างประมาณ 7-20 ซม. ยาวประมาณ 30-40 ซม.ขึ้นอยู่กับความสมบูรณ์ของ ธาตุอาหารในดิน หรือการดูแลรักษา
     * เหง้า รูปทรงกลม เรียงต่อกัน มักมีขนาดเท่าๆกัน หลายเหง้า อวบน้ำ ผิวเหง้าสีน้ำตาลอ่อนถึงน้ำตาลเข้ม อาจพบรอยที่ผิวเหง้าเป็นบริเวณที่จะงอกของต้นใหม่ เนื้อภายในสีม่วงอ่อน ม่วงเข้ม จนถึงสีม่วงดำ มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว รสชาติขมเล็กน้อย

สรรพคุณทางสมุนไพร
ตามตำรายาไทยกระชายดำมีสรรพคุณ
  1. กระชายดำใช้บำรุงกำลัง
  2. แก้ปวดเมื่อย และแก้อาการเหนื่อยล้า
  3. กระชายดำช่วยเพิ่มสมรรถภาพทางเพศ
  4. ช่วยขับลม
  5. เป็นยาอายุวัฒนะ (เชื่อว่าช่วยบำรุงสมรรถภาพทางเพศชาย)
  6. แก้จุกเสียด แก้ปวดท้อง
  7. กระชายดำขับปัสสาวะ
  8. หรือโขลกกับเหล้าขาวคั้นน้ำดื่ม แก้โรคมดลูกพิการ มดลูกหย่อน
  9. ใช้กวาดคอเด็ก แก้โรคตานซางในเด็ก
10. ต้มดื่มแก้โรคตา
11. กระตุ้นระบบประสาท
12. รักษาสมดุลความดันโลหิต
13. กระชายดำช่วยขยายหลอดเลือดหัวใจ
14. โรคเก๊าท์
15. ช่วยรักษาโรคกระเพาะอาหาร
16. รักษาระบบการย่อยอาหารให้เกิดสมดุลย์
17. แก้โรคบิด
18. รักษาผู้ป่วยเบาหวาน ลดระดับน้ำตาลในเลือด

สรรพคุณสำหรับเพศชาย
ช่วยบำรุงฮอร์โมนเพศชาย กระตุ้นประสาท ทำให้กระชุ่มกระชวย บำรุงกำลัง เป็นยาอายุวัฒนะ ชะลอความแก่ ขับลม ขับปัสสาวะ แก้โรคกระเพาะอาหาร ช่วยย่อยแก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ เนื่องจากรับประทานอาหารไม่เป็นเวลา
สรรพคุณสำหรับเพศหญิง
ช่วยบำรุงเลือดสตรี แก้ตกขาว ทำให้ประจำเดือนมาเป็นปกติ ตามตำรากล่าวว่า กระชายดำมีสรรพคุณแก้โรคในปาก เช่น ปากเปื่อย ปากเป็นแผล แก้ปวดมวนท้อง รักษาโรคปวดข้อ ปวดหลัง ปวดเมื่อยตามร่างกาย รักษาโรคภูมิแพ้ขับพิษต่างๆในร่างกาย รักษาโรคบิด เป็นต้น จากข้อมูลทางด้านวิทยาศาสตร์พบว่า กระชายมีฤทธิ์ต้านจุลชีพ ต้านการอักเสบเทียบได้กับยาหลายชนิด เช่น แอสไพริน อินโดเมธาซิน และเพรดนิซิโลน แม้ว่าปัจจุบันยังไม่มีข้อมูลการวิจัยสนับสนุนสรรพคุณของกระชายดำมากนัก แต่มีการใช้กระชายดำเพื่อเสริมสุขภาพกันมาก

นิทานสอนเด็ก นิทานอีสป นิทานก่อนนอน

สถิติการเข้าชม