ถั่วฝักยาว
ชื่อวิทยาศาสตร์ Vigna unguiculata Hc
ชื่อวงศ์ LEGUMINOSAE
ชื่อสามัญ Yard long Bean
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
ลำต้นเป็นไม้เลื้อย เถาเป็นสีเขียวอ่อน เถาจะแข็งและเหนียวคล้ายกับถั่วพู ลักต้นม้วนพันสิ่งยึดเกาะได้ ลักษณะของใบเป็นใบประกอบแบบฝ่ามือ มี 3 ใบย่อยลักษณะคล้ายรูสามเหลี่ยมยาวประมาณ 6-10 เซนติเมตร ส่วนลักษณะของดอกถั่วฝักยาว จะออกดอกเป็นช่อตามซอกใบ กลีบดอกเป็นสีขาว (หรือน้ำเงินอ่อน) ฝักมีลักษณะกลม (เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 0.5-1 เซนติเมตร) ยาวประมาณ20-80 เซนติเมตร และในฝักมีเมล็ดอยู่หลายเมล็ด
ถั่วฝักยาวนอกจากจะเป็นพืชผักที่มีคุณค่าทางอาหารแล้ว การปลูกถั่วฝักยาวจะช่วยปรับปรุงบำรุงดินด้วย เพราะโดยธรรมชาติแล้ว ระบบรากของพืชตระกูลถั่วจะมีการตรึงไนโตรเจนจากอากาศมาไว้ในดิน นับว่าเป็นพืชที่มีประโยชน์หลายอย่างเป็นเถาเลื้อย เถาแข็งและเหนี่ยว คล้ายกับถั่วพู แต่มีอายุเพียงปีเดียว หรือฤดูเดียว เถาสีเขียวอ่อน ลำต้นม้วนพันสิ่งยึดเกาะได้ดี ไม่มีมือเกาะ ใบประกอบแบบฝ่ามือ มี 3 ใบย่อย รูปสามเหลี่ยมยาว 6-10 เซนติเมตร ดอกช่อออกตามซอกใบ กลีบดอกสีขาว หรือน้ำเงินอ่อน ผลเป็นฝักกลม เส้นผ่านศูนย์กลาง 0.5-1 เซนติเมตร ยาว 20-80 เซนติเมตร มีหลายเมล็ด
สรรพคุณทางสมุนไพร:
ใบ : ใช้สดประมาณ 60-100 กรัม ใช้ต้มน้ำกิน เป็นยารักษาโรคหนองใน และปัสสาวะเป็นหนอง
เปลือกฝัก : ใช้สดประมาณ 100-150 กรัม นำมาต้มกินใช้รักษาภายนอก โดยการตำพอก และเป็นยาระงับอาการปวดบวม ปวดตามเอว และแผลที่เต้านม
เมล็ด : ใช้แห้งหรือใช้สดประมาณ 30-60 กรัม นำมาต้มน้ำกินหรือกินสด จะมีรสชุ่ม เป็นยาบำรุงม้าม และไต กระหายน้ำ อาเจียน ปัสสาวะกะปริบกะปรอย และตกขาว
ราก : ใช้สดประมาณ 60-100 กรัม นำมาต้มกับน้ำ หรือตุ๋นกับเนื้อกิน ใช้รักษาภายนอกโดยการตำพอก หรือจะนำมาเผาให้เป็นเถ้า แล้วบดให้เป็นผงละเอียดผสมทา หรือใช้กินเป็นยารักษาโรคหนองในที่มีหนองไหลบำรุงม้าม รักษาบิด บำรุงม้าม ส่วนการใช้รักษาภายนอกโดยการตำพอกนั้นใช้รักษาฝีเนื้อร้าย และช่วยให้เนื้อเจริญเร็วขึ้น