กล้วยป่า
ชื่อวิทยาศาสตร์ Musa acuminata Colla.
ชื่อวงศ์ MUSACEAE
ชื่ออื่น กล้วยเถื่อน กล้วยลิง กล้วยหม่น
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ต้น เป็นพืชล้มลุกลำเทียมสูงประมาณ 2.5-3.5 เมตร เส้นผ่าศูนย์กลางต่ำกว่า 15 ซม. กาบลำต้นด้านนอกมีปื้นดำ มีนวลเล็กน้อย ส่วนด้านในสีแดง
ใบ ใบชูค่อนข้างตรงก้านใบสีชมพูอมแดงมีจุดดำ มีครีบ เส้นกลางใบสีเขียว ก้านช่อดอกมีขนอ่อนๆ มาก ใบประดับค่อนข้างยาวปลายแหลม ด้านบนสีม่วงอมแดงมีนวล ด้านล่างที่โคนสีแดงซีด เมื่อใบกาง ตั้งขึ้นจะเอนไปด้านหลังและม้วนงอเห็นได้ชัด การเรียงของใบประดับบนช่อดอกไม่ค่อยซ้อนมาก และจะมีลักษณะนูนที่โคนของใบประดับเห็นเป็นเส้นชัดเจน เมื่อใบประดับหลุดออก
ดอก ดอกย่อยมีก้านดอกสั้น ผลจึงมีก้านสั้นและมีขนาดเล็ก
ผล รูปร่างของผลมีหลายแบบแตกต่างกันไปตามชนิดย่อย บางชนิดย่อย บางชนิดมีผลโค้งงอ ผลมีเนื้อน้อยสีขาวรสหวาน มีเมล็ดจำนวนมากสีดำ ผนังหนาแข็ง
สรรพคุณทางสมุนไพร
ยาง สมานแผลห้ามเลือด
ผลดิบ แก้ท้องเสีย ผลสุก เป็นยาระบายสำหรับผู้ที่เป็น โรคริดสีดวงทวาร
หัวปลี แก้โรคเกี่ยวกับลำไส้ แก้โรคโลหิตจาง ลดน้ำตาลในเส้นเลือด