รางจืด
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Thumbergia laurifolia Lindl.
ชื่อวงศ์ : Acanthaceae
ชื่ออื่น : กำลังช้างเผือก ขอบชะนาง เครือเขาเขียว ยาเขียว (ภาคกลาง) คาย รางเย็น (ยะลา) จอลอดิเออ ซั้งกะ ปั้งกะล่ะ พอหน่อเตอ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) ดุเหว่า (ปัตตานี) ทิดพุด (นครศรีธรรมราช) น้ำนอง (สระบุรี) ย่ำแย้ แอดแอ (เพชรบูรณ์)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
ไม้เลื้อย/ไม้เถา เนื้อแข็ง ใบ ใบเดี่ยว ออกตรงข้าม รูปขอบขนานหรือรูปไข่ ปลายใบเรียวแหลม โคนใบมนเว้า มีเส้น 3 เส้นออกจากโคนใบ ดอก มีสีม่วงอมฟ้า ออกเป็นช่อห้อยลงตามซอกใบ ใบประดับสีเขียวประแดง กลีบเลี้ยงรูปจาน ดอกรูปแตรสั้น โคนกลีบดอกสีเหลืองอ่อน เชื่อมติดกันเป็นหลอด ปลายแยกเป็น 5 กลีบ เกสรเพศผู้ 4 อันผล เป็นฝักกลม ปลายเป็นจะงอย เมื่อแก่แตกเป็น 2 ซีก
ส่วนที่ใช้ : ใบ ราก และเถาสด
สรรพคุณทางสมุนไพร : รางจืดที่มีประสิทธิภาพ คือรางจืดชนิดเถาดอกม่วง
รากและเถา - รับประทานแก้ร้อนใน กระหายน้ำ
ใบและราก - ใช้ปรุงเป็นยาถอนพิษไข้ เป็นยาพอกบาดแผล น้ำร้อนลวก ไฟไหม้ ทำลายพิษยาฆ่าแมลง พิษจากสตริกนินให้เป็นกลาง พิษจากดื่มเหล้ามากเกินไป หรือยาเบื่อชนิดต่างๆ เข้าสู่ร่างกายโดยตั้งใจหรือไม่ตั้งใจก็ตาม เช่น ติดอยู่ในฝักผลไม้ที่รับประทาน เมื่ออยู่ในสถานที่ห่างไกล การนำส่งแพทย์ต้องใช้เวลา อาจทำให้คนไข้ถึงแก่ชีวิตได้ ถ้ามีต้นรางจืดปลูกอยู่ในบ้าน ใช้ใบรางจืดไม่แก่ไม่อ่อนเกินไปนัก หรือรากที่มีอายุเกิน 1 ปีขึ้นไป และมีขนาดเท่านิ้วชี้ มาใช้เป็นยาบรรเทาพิษเฉพาะหน้าก่อนนำส่งโรงพยาบาล (รากรางจืดจะมีตัวยามากกว่าใบ 4-7 เท่า) ดินที่ใช้ปลูก ถ้าผสมขี้เถ้าแกลบหรือผงถ่านป่น จะช่วยให้ต้นรางจืดมีตัวยามากขึ้น
ชื่อวงศ์ : Acanthaceae
ชื่ออื่น : กำลังช้างเผือก ขอบชะนาง เครือเขาเขียว ยาเขียว (ภาคกลาง) คาย รางเย็น (ยะลา) จอลอดิเออ ซั้งกะ ปั้งกะล่ะ พอหน่อเตอ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) ดุเหว่า (ปัตตานี) ทิดพุด (นครศรีธรรมราช) น้ำนอง (สระบุรี) ย่ำแย้ แอดแอ (เพชรบูรณ์)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
ไม้เลื้อย/ไม้เถา เนื้อแข็ง ใบ ใบเดี่ยว ออกตรงข้าม รูปขอบขนานหรือรูปไข่ ปลายใบเรียวแหลม โคนใบมนเว้า มีเส้น 3 เส้นออกจากโคนใบ ดอก มีสีม่วงอมฟ้า ออกเป็นช่อห้อยลงตามซอกใบ ใบประดับสีเขียวประแดง กลีบเลี้ยงรูปจาน ดอกรูปแตรสั้น โคนกลีบดอกสีเหลืองอ่อน เชื่อมติดกันเป็นหลอด ปลายแยกเป็น 5 กลีบ เกสรเพศผู้ 4 อันผล เป็นฝักกลม ปลายเป็นจะงอย เมื่อแก่แตกเป็น 2 ซีก
ส่วนที่ใช้ : ใบ ราก และเถาสด
สรรพคุณทางสมุนไพร : รางจืดที่มีประสิทธิภาพ คือรางจืดชนิดเถาดอกม่วง
รากและเถา - รับประทานแก้ร้อนใน กระหายน้ำ
ใบและราก - ใช้ปรุงเป็นยาถอนพิษไข้ เป็นยาพอกบาดแผล น้ำร้อนลวก ไฟไหม้ ทำลายพิษยาฆ่าแมลง พิษจากสตริกนินให้เป็นกลาง พิษจากดื่มเหล้ามากเกินไป หรือยาเบื่อชนิดต่างๆ เข้าสู่ร่างกายโดยตั้งใจหรือไม่ตั้งใจก็ตาม เช่น ติดอยู่ในฝักผลไม้ที่รับประทาน เมื่ออยู่ในสถานที่ห่างไกล การนำส่งแพทย์ต้องใช้เวลา อาจทำให้คนไข้ถึงแก่ชีวิตได้ ถ้ามีต้นรางจืดปลูกอยู่ในบ้าน ใช้ใบรางจืดไม่แก่ไม่อ่อนเกินไปนัก หรือรากที่มีอายุเกิน 1 ปีขึ้นไป และมีขนาดเท่านิ้วชี้ มาใช้เป็นยาบรรเทาพิษเฉพาะหน้าก่อนนำส่งโรงพยาบาล (รากรางจืดจะมีตัวยามากกว่าใบ 4-7 เท่า) ดินที่ใช้ปลูก ถ้าผสมขี้เถ้าแกลบหรือผงถ่านป่น จะช่วยให้ต้นรางจืดมีตัวยามากขึ้น
รางจืดเป็นตัวยารสเย็น ใช้ได้ทั้ง ใบ ราก เถา ตำคั้นน้ำ หรือฝนกับน้ำฝน น้ำซาวข้าว กินเพียงสองครั้งก็เห็นผลในการใช้ดื่มถอนพิษ ทั้งที่เป็นพิษจากยาฆ่าแมลง อาหารเป็นพิษ พิษจากเมาสุรา หรือกินยานอนหลับเกินอัตราส่วนที่แพทย์กำหนด ทั้งนี้เพราะสรรพคุณของรางจืดจะเปลี่ยนกรดหรือด่างในร่างกายที่เป็นพิษให้ เป็นกลาง และเมื่อสารยาของรางจืดซึมเข้าไประบบประสาท ในเส้นเลือด ไปปะทะกับพิษยา หรือสารพิษต่างๆในร่างกาย มันจะทำลายพิษเหล่านั้นให้เป็นกลางในเวลาอันรวดเร็ว ไม่เกิน ๔๕ นาที แต่ไม่ควรทานรางจืดเป็นประจำทุกวัน เพราะจะทำให้ร่างกายไม่ได้รับสารอาหารที่พอเพียง ใบรางจืดยังใช้ตำพอกแก้ปวดบวมได้
ตำรับยาล้างพิษของไทย ใช้กินก่อนกินยารักษาโรค เช่น จะรักษายาเสพติด ก็ให้กินยาล้างพิษก่อน ประกอบด้วย รางจืด เหงือกปลาหมอ และเถาย่านาง อย่างละ ๑๕ กรัม ต้มดื่มล้างพิษ
ตำรับยาล้างพิษของไทย ใช้กินก่อนกินยารักษาโรค เช่น จะรักษายาเสพติด ก็ให้กินยาล้างพิษก่อน ประกอบด้วย รางจืด เหงือกปลาหมอ และเถาย่านาง อย่างละ ๑๕ กรัม ต้มดื่มล้างพิษ