องุ่นป่า
ชื่อวิทยาศาสตร์ :Ampelocissus martinii Planch.
VITACEAE (VITIDACEAE)
ชื่ออื่น :เครืออีโกย กุ่ย เถาวัลย์ขน ส้มกุ้ง ตะเปียงจู เถาเปรี้ยว
VITACEAE (VITIDACEAE)
ชื่ออื่น :เครืออีโกย กุ่ย เถาวัลย์ขน ส้มกุ้ง ตะเปียงจู เถาเปรี้ยว
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ไม้เลื้อยลุ้มลุก หลายฤดู ลำต้น ไม่มีเนื้อไม้ ยอดอ่อน สีชมพู มีขนอ่อน สีขาวปกคลุมและขนอ่อนสีชมพู เส้นใหญ่กว่าแซม มือเกาะแตกออกจากข้อตรงข้ามใบ เถาที่ออกดอกใบจะร่วงหล่นหมด ใบ เดี่ยวรูปหัวใจเว้าลึกเป็น 5 พู ผิวใบอ่อนมีขน เป็นเส้นใยแมงมุมปกคลุม มีขนอ่อนสีชมพูที่มีต่อมแซม (glandularhair )ขอบใบหยักฟันเลื่อย ดอก ออกเป็นช่อแบบพานิเคิล (panicle) ดอกย่อยมีขนาดเล็กสีชมพูอ่อน กลีบดอก 4 กลีบ (perianth) หลุดร่วงง่าย เกสรตัวผู้ 4 อันเกสรตัวเมีย 1 แฉก รังไข่แบบซูพีเรีย (superior ovary) ผล สด (berry) รูปร่างกลม เส้นผ่าศูนย์กลาง 2-3 เซนติเมตร ผลอ่อนสีม่วงแดง แต่ละผลมี 2-4 เมล็ดเมล็ด มีเปลือกหุ้มแข็ง ผิงขรุขระ การขยายพันธุ์ ดดยเมล็ดหรือแตกยอดใหม่จากเหง้าใต้ดิน ซึ่งมีลักษณะคล้ายรากมันสำปะหลัง ออกเป็นกระจุกสีแดงเลือกหมู นิเวศวิทยาและการแพร่กระจาย พบทั่วไปตามป่าเบญจพรรณในที่ร่มชื้น เถาจะงอกในช่วงฤดูฝน ผลจะแก่เก็บเกี่ยวได้ในต้นฤดูหนาว มี 2 สายพันธุ์คือ สีม่วงและสีเขียว ประโยชน์และสรรพคุณ
รับประทานเป็นผักสดมีรสหวานอมเปรี้ยว ผลอ่อน ต้มตำน้ำพริก หรือใส่ส้มตำ เพราะมีรสเปรี้ยว ถ้ารับประทานมากจะทำให้ระคายคอ ชาวบ้านจะจิ้มเกลือก่อน รับประทานจะลดอาการระคายคอ หรือนำผลสุก มาตำใส่ส้มตำ นำหัวใต้ดิน เถาเปรี้ยว หัวกลอย หน่อไม้ป่า และน้ำปัสสาวะ ต้มรวมกันทิ้งให้เย็นใช้รักษาโรคฝีหนองที่ฝ่าเท้า โดยให้เท้าแช่ในน้ำต้ม