สลอด
ชื่ออื่น : มะข่าง, มะคัง, มะตอด, หมากทาง, หัสคืน(เหนือ), สลอดต้น, หมากหลอด, ลูกผลาญศัตรู(กลาง), หมากยอง(ฉาน-แม่ฮ่องสอน)
ชื่อสามัญ : Purging Croton, Croton Oil Plant
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Croton tiglium Linn.
วงศ์ : Euphorbiaceae
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
เป็นไม้พุ่มสูง 3- 6 เมตร ใบเดี่ยวเรียงสลับกัน รูปไข่ โคนใบกลมปลายใบแหลม ขอบใบหยักเป็นซี่ฟัน เนื้อใบบาง มีต่อมที่ฐานใบสองต่อม ใบมีสีเขียวอ่อนแกมน้ำตาล ดอกมีขนาเล็ก ออกเดี่ยวหรือเป็นช่อที่ยอด ดอกมีขน ผลรูปไข่ สีน้ำตาลอ่อน มี 3 พลู แก่จัดจะแห้งและแตก เมล็ดมีรูปร่าง 3 เหลี่ยม มุมบน สีนวล
แหล่งที่พบ : พบอยู่ตามที่ป่าโปร่ง ที่โล่ง ดินค่อนข้างแห้งแล้ง
เมล็ดมีน้ำมัน Croton oil 56% นอกนั้นเป็นสารประเภท Toxic albuminous substances ชื่อ Crotin มีน้ำตาบและไกลโคไซด์ ชื่อ Crotonososide มีสารที่มีฤทธิ์เป็นยาถ่าย และทำให้เกิดอาการระคายเคือง แก่ระบบทางเดินอาหารได้แก่ สารประเภท terpenoid เป็นสารที่พบอยู่ในพืชวงศ์ Euphorbiaceae หลายชนิด เช่น ใน genus Croton และ Euphorbia สาร Phorbals นี้ จากการทดลองพบว่าเป็นสารที่เป็น Co-carcinogens หมายถึง เป็นตัวช่วยเร่งให้เกิดมะเร็งเร็วขึ้น
ใบสลอด มี hydrocynaic acid, triperpinoid ส่วนในเมล็ด มีโปรตีนที่เป็นพิษ ๒ ชนิด คือ croton globulin และ croton albumin
นอกจากนี้ยังมี น้ำตาล sucrose และ glycoside crotonoside ให้น้ำมันสลอดที่ประกอบด้วย oleic, linoleic, arachidic, myristic, stearic, palmitic, acetic และ formic acid นอกจากนี้ยังมีกรดอีกหลายชนิด
สรรพคุณทางยาสมุนไพร :
เมล็ด มีน้ำมัน ใช้เป็นยาถ่ายอย่างแรงและระคายเคืองมาก เมื่อนำไปคั่วให้น้ำมันระเหยออกไปฤทธิ์จะอ่อนลง
ข้อควรระวัง
เมล็ด รสเผ็ดร้อน มีพิษมาก ต้องใช้ด้วยความระมัดระวัง เพราะเป็นยาถ่ายอย่างแรงและเป็นพิษ ก่อนใช้ประกอบยาต้องฆ่าฤทธิ์ยาตามตำรับกำหนดไว้เสียก่อนจึงจะใช้เป็นยาถ่าย พิษเสมหะและโลหิต ถ่ายน้ำเหลือง ถ่ายลม ถ่ายพยาธิ แก้การผิดปกติของจิตประสาท แก้โรคลมชักบางชนิด แก้ท้องผูกที่ใช้ยาอื่นไม่ได้ผล ขับพยาธิในลำไส้ แก้ท้องมาน บวมน้ำ ขับลม แก้ปวดท้อง แก้โรคเก๊าท์
ยาง จากทุกส่วนของต้นและเมล็ด มีพิษ