อ้อยแดง
ชื่อสามัญ Saccharum officnarum Linn.
ชื่อวงศ์ Fam. : GRAMINEAE
ชื่ออื่น อ้อยดำ อ้อยตาแดง อ้อยขม
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ต้น เป็นพืชจำพวกหญ้า ลำต้นกลมยาว เป็นปล้อง ๆ เนื้ออ่อนฉ่ำน้ำ เปลือกมีสีแดงอมม่วง มีตาออกตามข้อ
ใบ ใบแคบยาวเรียว มีขนสากคาย อ้อยแดงมีหลายพันธุ์ หมอพื้นบ้านนิยมใช้พันธุ์ที่มีเปลือกสีแดงเข้มและใบสีเขียว กาบเขียวอ่อนมาทำยา ส่วนพันธุ์ที่มีใบสีม่วงจะมีฤทธิ์ขับและร้อนแรงเกินไป
การขยายพันธุ์ ขยายพันธุ์โดยใช้ลำต้นที่แก่จัด
ส่วนที่ใช้ เปลือกต้น ชายอ้อย ลำต้น
สรรพคุณทางสมุนไพร
เปลือกต้น แก้ตานขโมย แก้แผลเน่าเปื่อย
ชานอ้อย แก้แผลเรื้อรัง และแก้ฝีอักเสบบวม
ลำต้น แก้ร้อนใน ขับปัสสาวะ ขับเสมหะ แก้หือดไอ แก้คลื่นไส้อาเจียน แก้ไข้สัมประชวน แก้ปัสสาวะพิการ ขับนิ่ว แก้ท้องผูก บำรุงกระเพาะอาหาร แก้ขัดเบา บำรุงธาตุ แก้สะอึก แก้ตัวร้อน และแก้พิษตานซาง