เนระพูสีไทย
ชื่อสามัญ Tacca chantrieri
ชื่อวงศ์ Taccaceae
ชื่ออื่น ค้างคาวดำ ลาดีกลามูยี มังกรดำ
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
พืชล้มลุก มีเหง้ารูปทรงกระบอก ใบเดี่ยวจำจวน 3-12 รูปรี รูปขอบขนาน หรือรูปใบหอก กว้าง 6-18 ยาว 25-60 ซม. ผิวเกลี้ยง ฐานใบ รูปลิ่ม ปลายใบ แหลม หรือมีลักษณะเป็นติ่ง เส้นใบ จำนวน 8-10 คู่ ก้านใบ ประกอบด้วยแผ่นใบยาว 15-30 ซม. ดอก ออกเป็นช่อ 1-2 ช่อ ยาวถึง 70 ซม. แต่ละช่อมี 4-6 มากสุดถึง 25 ดอกย่อย วงใบประดับ มี 2 คู่ สีเขียว หรือเขียวเข้ม ออกตรงข้ามสลับตั้งฉาก ไม่มีก้าน คู่ด้านนอกรูปไข่ หรือรูปใบหอก กว้าง 1 ยาว 6 ซม. คู่ด้านในรูป ไข่ หรือไข่กลับ มีหลายขนาด กว้าง 4-8 ยาว 7-17 ซม. ริ้วประดับ รูปเส้นด้าย 6-25 อัน ยาว 10-25 เซนติเมตร สีเขียว หรือสีม่วง ก้านดอกย่อยยาว 2-3.5 เซนติเมตร ดอกกว้าง 0.6-2 ซม. ยาว 1-2.5 ซม. สีเขียว หรือสีม่วง วงกลีบรวม ปลายแยก 6 แฉก 3 อันด้านนอกรูปไข่ หรือรูปสามเหลี่ยม กว้าง 3-8 ยาว 5-12 มม. 3 กลีบด้านใน กว้าง 4-12 ยาว 4-11 มม. เกสรเพศผู้ สีเขียว หรือสีเหลือง รังไข่ กว้าง 3-5 ยาว 2-7 มม. ผล รูปขอบขนาน และมีลักษณะสามเหลี่ยม กว้าง 1-2 ยาว 1.5-3 ซม. แต่ละด้านมีสันตามยาว มีวงกลีบรวมที่ยังไม่ร่วงติด เมล็ด รูปไต กว้าง 2-2.3 ยาว 3-4 มม. และหนา 1-1.5 มม.
สรรรพคุณทางสมุนไพร
มีโดยมีฤทธิ์แก้เบื่อเมา แก้ปวดเมื่อยตามร่างกาย แก้ลิ้นคอเปื่อย แก้ไอ ปวดท้อง มะเร็ง อาหารไม่ย่อย อาหารเป็นพิษ โรคกระเพาะ บำรุงร่างกาย แก้โรคความดัน ต่ำ บำรุงกำลังทางเพศ บำรุงกำลังสตรีระหว่างตั้งครรภ์และแก้ผดผื่นคัน สารสกัดจากพืชชนิดนี้สามารถยับยั้งการกินของหนอนใยผักได้