Social Icons

หญ้าลูกใต้ใบ

หญ้าลูกใต้ใบ
ชื่ออื่น มะขามป้อมดิน หญ้าใต้ใบ หญ้าใต้ใบขาว
ชื่อวิทยาศาสตร์ Phyllanthus amarus Schum & Thonn.
ชื่อสามัญ Tamalaki, Hazardana
วงศ์ Euphorbiaceae
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ไม้ล้มลุก สูง 10 - 60 ซม. ทุกส่วนมีรสขม ใบเป็นใบประกอบแบบขนนกชั้นเดียวปลายคี่ มีใบย่อย 23 - 25 ใบ ใบย่อยรูปขอบขนานแกมไข่กลับ ปลายใบมนกว้างโคนใบมนแคบ ขนาดประมาณ 0.4X1.0 ซม. ก้านใบสั้นมากและมีหูใบสีขาวนวลรูปสามเหลี่ยมปลายแหลมเกาะติด 2 อัน ดอกแยกเพศ เพศเมียมักอยู่ส่วนโคน เพศผู้มักอยู่ส่วนปลายก้านใบ ดอกขนาดเล็กสีขาว เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 0.08 ซม. ผลทรงกลมผิวเรียบสีเขียวอ่อนนวล ขนาดประมาณ 0.15 ซม. เกาะติดอยู่ที่ใต้โคนใบย่อย เมื่อแก่จะแตกเป็น 6 พู แต่ละพูจะมี 1 เมล็ด เมล็ดสีน้ำตาลรูปเสี้ยว 1/6 ของทรงกลม ขนาดประมาณ 0.1 ซม.
สรรพคุณทางสมุนไพร
ทั้งต้น ช่วยลดไข้ทุกชนิด (ไข้หวัด ไข้ทับระดู ไข้จับสั่น) ขับระดูขาว แก้น้ำดีพิการ แก้ดีซ่าน แก้ขัดเบา แก้ไอ แก้กามโรค แก้ปวดฝี ขับปัสสาวะ แก้ร้อนในกระหายน้ำ แก้ท้องเสียต้น มีสรรพคุณช่วยลดไข้ แก้บวม แก้ปัสสาวะขัด แก้นิ่ว แก้ปวดฝี แก้ฟกช้ำบวม ไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ ไข้จากการเปลี่ยนแปลงของอากาศ ไข้จากอ่อนเพลีย ไข้จับสั่น รวมทั้งแก้ท้องเสียได้ดีนัก ชาวบ้านในหลายพื้นที่นิยมตากลูกใต้ใบให้แห้งเก็บใส่โหลไว้ชงเป็นชากินเพื่อแก้ไข้ แก้ปวดข้อ แก้อักเสบ แก้ปวด มีรายงานการวิจัยพบว่าลูกใต้ใบมีฤทธิ์ในการแก้ไข้ แก้อักเสบได้  ใช้ต้มกินเป็นยาแก้ดีซ่าน แก้ตับอักเสบตัวเหลือง ตาเหลือง
ลูกใต้ใบ เป็นสมุนไพรยอดนิยมของผู้ป่วยเบาหวาน หมอยาและชาวบ้านในหลายประเทศ รวมทั้งประเทศไทย เชื่อว่าลูกใต้ใบเป็นสมุนไพรช่วยคุมระดับน้ำตาลในคนเป็นโรคเบาหวานได้ ซึ่งมีการศึกษาวิจัยทางเภสัชวิทยาพบว่าสารสกัดของลูกใต้ใบมีฤทธิ์ลดระดับน้ำตาลในเลือดได้
ราก ช่วยแก้ไข้หวัด แก้ท้องเสีย แก้บวม แก้ปัสสาวะขัด แก้นิ่ว ขับปัสสาวะ บำรุงธาตุ
ลูกใต้ใบ เป็นสมุนไพรที่จัดว่ามีการใช้กับระบบทางเดินปัสสาวะมากที่สุดชนิดหนึ่ง โดยมีการนำไปใช้รักษาอาการมีไข่ขาวในปัสสาวะ อาการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ ทางเดินปัสสาวะอักเสบ ใช้ในการขับปัสสาวะ ลดอาการบวม และขับกรดยูริคออกทางปัสสาวะ ซึ่งช่วยในคนเป็นโรคเก๊าท์
ข้อควรระวัง
ห้ามใช้ในคนท้อง เพราะลูกใต้ใบเป็นยาขับประจำเดือน

นิทานสอนเด็ก นิทานอีสป นิทานก่อนนอน

สถิติการเข้าชม