Social Icons

หม่อน

หม่อน
ชื่ออื่น  มอน (อีสาน), ซึงเฮียะ (จีน) 

ชื่อสามัญ Mulberry, White Mulberry

ชื่อวิทยาศาสตร์    Morus alba Linn., M. indica Linn. 

ชื่อวงศ์    MORACEAE


ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

เป็นไม้พุ่มขนาดย่อม เปลือกต้นสีน้ำตาลแดง ใบเดี่ยวรูปหัวใจขอบจักฟันเลื่อย ผิวสาก สีเขียวเข้ม เส้นใบตามยาว 3 เส้น ดอกเล็กๆกลมเป็นช่อแท่งกลมเล็กๆยาวราว 1 นิ้ว ผลกลมเล็กๆเมื่อสุกสีน้ำตาลดำ เป็นพวง ปลูกไว้เก็บใบเลี้ยงตัวไหม
สรรพคุณทางสมุนไพร

ยอดหม่อน หากรู้สึกอ่อนล้า ใช้สายตามากในการทำงานโดยเฉพาะผู้ที่ทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์ ขับรถยนต์ในเวลากลางคืน และเพ่งมองถนนเป็นเวลานาน ๆ การนำส่วนยอดอ่อนของหม่อนมาต้มเพื่อดื่มและล้างตา ก็จะสามารถช่วยผ่อนคลายและช่วยบำรุงสายตาได้เป็นอย่างดี
กิ่งหม่อนมาใช้ประโยชน์ได้โดยตัดกิ่งหม่อนและโคนต้นหม่อนเก่า ๆ เป็นท่อน แล้วนำไปผึ่งไว้ให้แห้ง ต้มน้ำสะอาด ใช้ดื่มเพื่อช่วยให้ระบบไหลเวียนโลหิตทำงานได้ดีขึ้น รักษาอาการปัสสาวะสีเหลือง กลิ่นฉุนอันเกิดจากความร้อนภายในร่างกาย ช่วยทำให้ระบบลำไส้ทำงานได้ดียิ่งขึ้น ขจัดความร้อนในปอดและกระเพาะอาหาร ขจัดการหมักหมมในกระเพาะและเสลดในปอด นอกจากนั้นยังใช้รักษาอาการปวดมือ เท้าเป็นตะคริวและเหน็บชาอีกด้วย
ผลหม่อน หรือ MULBERRY การใช้ประโยชน์จากผลหม่อนนั้นหลากหลายมากมายไม่น้อยไปกว่าส่วนอื่น ๆ ของต้นหม่อนเองเลย ผลหม่อนสุกให้รสชาติหวานอมเปรี้ยว มีสรรพคุณใช้รักษาโรคไขข้อ บำรุงหัวใจ บำรุงผมให้ ดกดำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศแถบเอเชีย ชาวจีนเรียกผลหม่อนว่า sangshen ในหนังสือ modern Chinese Materia Medica ให้สมญานามผลหม่อนว่าเป็น Blood tonic นั่นย่อมแสดงถึงความสำคัญในด้านบำรุงเลือดตามคติความเชื่อของชาวจีนได้เป็นอย่างดี แพทย์ชาวจีนในสมัยราชวงศ์หมิง ชื่อ เลี่ยงฮียัง ได้กล่าวถึงคุณประโยชน์ของการรับประทานผลหม่อนสุกไว้ว่า ทำให้ตับไม่มีไฟ หัวใจคลายความร้อนรุ่ม เส้นประสาทตาดี สายตาก็แจ่มใส ร่างกายก็สุขสบาย
รากหม่อน มีสารสำคัญกลุ่มอัลคาลอยด์ คูมารินส์ เทอร์ปีน สติลปีน ฟลาโวนอยด์ เบนซินอยด์
          สำหรับการเก็บเกี่ยวรากหม่อนมาใช้ประโยชน์นั้น ในประเทศจีนจะเก็บในช่วงปลายฤดูใบไม้ร่วง ระหว่างที่ใบหม่อนกำลังร่วงและในช่วงต้นฤดูใบไม้ผลิก่อนที่ใบจะงอก โดยเอาส่วนของไม้ก๊อก (cork) ที่เป็นสีน้ำตาลเหลืองออก ตัดตามยาวของลำต้นแล้วลอกเปลือกออกตากแดด ซึ่งรากที่ได้จะมีคุณสมบัติทางยาสูงสุด สามารถใช้ลดปริมาณน้ำตาลในเส้นเลือด ลดความรุนแรงและรักษาโรคเบาหวานได้ โดยสารอัลคาลอยด์ที่ชื่อ deoxnojirimycin (DNJ) จากส่วนเปลือกรากหม่อน (Morus nigra) ได้นำมาสกัดเป็นยาชื่อ Homonojirimycin เพื่อใช้เป็นยารักษาโรคเบาหวาน นอกจากนั้น DNJ ซึ่งมีคุณสมบัติทางเคมีคล้ายกับน้ำตาลกลูโคส จะไปเพิ่มโมเลกุลของน้ำตาลที่ผิวด้านนอกของเชื้อ HIV เป็นอุปสรรคกีดขวางในการเข้าไปทำลายเซลล์ของเชื้อ HIV จากรายงานการศึกษาของ Mr.Raymond Dwek และคณะ แห่งมหาวิทยาลัยอ็อกฟอร์ดที่ได้รายงานว่า butyl DNJ มีผลต่อการยับยั้งโรค AIDS ได้มาก ขณะนี้ทดลองในสัตว์ได้ผลดีระดับหนึ่ง ส่วนการทดลองในคนไข้เอดส์ คาดว่าจะทำได้ในเร็ว ๆ นี้ และอาจเป็นข่าวดีสำหรับผู้ป่วยโรคเอดส์พร้อมกับคำว่า หม่อน พืชมหัศจรรย์
          นอกจากนี้สารสกัดจากรากหม่อนก็ถูกนำมาใช้เป็น Whitening agent ในผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง อันเนื่องมาจากสารสกัดดังกล่าวมีฤทธิ์ยับยั้งการสร้างเมลานิน (melanin) โดยสาร 2-oxyresveratrol จากกิ่งหม่อน และสาร mulberroside F จากใบและสารสกัดจากเปลือกราก มีฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ tyrosinase ซึ่งเกี่ยวข้องในขบวนการสร้างเม็ดสีที่ผิวหนังนั่นเอง

นิทานสอนเด็ก นิทานอีสป นิทานก่อนนอน

สถิติการเข้าชม