Social Icons

เล็บมือนาง

เล็บมือนาง

ชื่อสามัญ Quisqualis  Indica  Linn.

ชื่อวงศ์ Fam. :COMBRETACEAE 

ชื่ออื่น  มะจีมั่ง จ๊ามัง จะมัง (เหนือ)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ต้น      เป็นพรรณไม้เถาขนาดกลาง  ที่แตกกิ่งก้านสาขาหนาทึบและตามลำต้น หรือกิ่งอ่อน จะมีขนสีน้ำตาลอมเทาปกคลุมอยู่  แต่ต้นที่แก่ ผิวจะเกลี้ยง  หรือบางทีก็กลายเป็นหนามไป เลย  ต้องหาหลักยึดหรือร้านให้ลำเถาเกาะยึด
ใบ       เป็นไม้ใบเดี่ยว  ออกตรงข้ามกันเป็น คู่ ๆ  ลักษณะของใบเป็นรูปมนขอบขนาน ปลาย ใบแหลมหรือมนและมีติ่งแหลม โคนใบจักเว้า เข้าเล็กน้อย  ขอบใบเรียบหรือบางใบก็เป็น คลื่น  ขนาดของใบกว้างประมาณ  1 - 1.5  นิ้ว ยาว  3 - 6  นิ้วมีสีเขียว  เนื้อบางและท้องใบจะ มีขนปกคลุมจำนวนมาก
ดอก     ออกเป็นช่ออยู่ตรงส่วนยอดของต้น ลักษณะของดอกจะเป็นหลอดยาวมาก ยาวประมาณ  3 - 4  นิ้ว  ตรงปลายแยกออกเป็น  5  กลีบ  สีชมพู  หรือสีแดงอมขาว  หลอดของดอก จะโค้งเล็กน้อย  เกสรยาวยื่นออกมากลางดอก อัน
ผล      เป็นสัน  และแข็ง  มันมีอยู่  5  สันผล โตประมาณ  0.5   นิ้ว  ยาว  1 - 1.5  นิ้ว มีสีดำ

สรรพคุณทางสมุนไพร

ใบ         ตำพอกแก้บาดแผล  แก้อักเสบ หรือ ทาแก้แผลฝี     และถ้านำไปผสมกับสมุนไพร ชนิดอื่น ๆ   จะเป็นยาแก้ตัวร้อน   แก้ปวดหัว ถอนพิษ  แก้สารพัด  แก้กาฬ  แก้พิษสำแดง ของแสลง
เมล็ด    เป็นยาถ่ายพยาธิลำไส้  ถ้าเป็นผู้ ใหญ่ให้ใช้   5 - 7   เม็ด   ทุบให้แตกแล้วต้ม เอาน้ำดื่ม
ทั้งต้น       แก้ตานขโมยพุงโร  ขับพยาธิและ ตานทราง 
ผล           แก้อุจจาระเป็นฟอง  เหม็นคาวใน เด็ก  และขับพยาธิไส้เดือน  กินแล้วทำให้สะอึก
ราก      แก้อุจจาระเป็นฟอง  เป็นยาระบาย ขับพยาธิไส้เดือน   แต่ถ้าผสมกับสมุนไพรอื่น จะใช้แก้  ตานขโมย  แก้เด็กเป็นซาง แก้ซางแห้ง  แก้อุจจาระพิการ ริดสีดวง แก้ธาตุวิปริต แก้ตับทรุด  เจริญอาหาร

นิทานสอนเด็ก นิทานอีสป นิทานก่อนนอน

สถิติการเข้าชม