Social Icons

เงาะป่า

เงาะป่า
clip_image002clip_image004clip_image006
ชื่ออื่น
คายข้าว (อุบลราชธานี) เงาะพวงผลกลม
ชื่อวิทยาศาสตร์
Uvaria hirsuta Jack.
ชื่อวงศ์
Annonaceae
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ไม้เถาเนื้อแข็ง ยาว 10 - 20 เมตร กิ่งอ่อนมีขนยาวรูปดาว สีน้ำตาลขึ้นหนาแน่น เปลือกลำต้นสีดำ แตกเป็นร่อง ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปขอบขนาน รูปวงรีแกมขอบขนานหรือรูปใบหอกกลับ กว้าง 3-7 เซนติเมตร ยาว 10-20 เซนติเมตร โคนใบกลม หยักเว้าและเบี้ยวเล็กน้อย ปลายใบเรียวแหลม ใบอ่อนหลังใบมีขน ท้องใบมีขนหยาบและแข็งรูปดาวสีน้ำตาลหนาแน่น มีมากที่เส้นกลางใบและขอบใบ เส้นแขนงใบ 12-15 คู่ ก้านใบยาว 5 มิลลิเมตรดอกเดี่ยว ออกที่ซอกใบ กลีบดอกสีแดง กว้าง 1.2 เซนติเมตร ยาว 1.5 เซนติเมตร รูปขอบขนาน เรียงเป็น 2 ชั้น ก้านดอกยาว 5 มิลลิเมตร ใบประดับ 2 ใบ รูปร่างค่อนข้างกลม ขนาด 8 มิลลิเมตร กลีบเลี้ยงสีเขียว กว้างและยาว 1 เซนติเมตร มีขนด้านนอกหนาแน่น เส้นผ่าศูนย์กลางดอก 2-2.5 เซนติเมตร ผลกลุ่ม ผลย่อยรูปทรงกลมแกมรี 10-30 ผล ผลขนาดกว้าง 2.5 เซนติเมตร ยาว 2-3 เซนติเมตร ก้านช่อผลยาว 1 เซนติเมตร มีก้านผลยาว 2-3 เซนติเมตร เปลือกมีขนยาว 0.5-1 เซนติเมตร ขนแข็ง คล้ายหนาม เหมือนผลเงาะ ผลอ่อนสีเขียวเมื่อสุกสีแดงส้ม มีเนื้อใสฉ่ำน้ำหุ้มเมล็ด รับประทานได้ มีรสเปรี้ยวอมหวาน เมล็ดแบนสีดำ ออกดอกราวเดือนพฤษภาคมถึงมิถุนายน ผลสุกราวเดือนกรกฎาคมถึงสิงหาคม พบตามป่าเต็งรัง ป่าดิบแล้ง

สรรพคุณทางสมุนไพร
เปลือกต้น ต้มน้ำดื่ม แก้กระษัยเส้น (เป็นอาการผิดปกติของสมดุลธาตุทั้งสี่ในร่างกายและเส้นเอ็น มีอาการได้หลายแบบ ส่วนใหญ่เป็นอาการอักเสบปวดเกร็งของกล้ามเนื้อ และเส้นเอ็นในส่วนต่างๆของร่างกาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งต้นขาและท้อง) แก้ปวดเมื่อย แก่นหรือเปลือกต้น แช่น้ำดื่ม บำรุงโลหิต ลำต้น เป็นยาเย็น เข้ายาบำรุงกำลัง

นิทานสอนเด็ก นิทานอีสป นิทานก่อนนอน

สถิติการเข้าชม