Social Icons

หัวร้อยรู

imageimage
ชื่อวิทยาศาสตร์ :  Hydnophytum formicarum Jack

ชื่อวงศ์   RUBIACEAE
ชื่ออื่น  : กระเช้าผีมด ปุมเป้า ร้อยรู ตาลิมา (มลายู – ภาคใต้); ดาลูปู; กระเช้าผีมด (สุราษฎร์ธานี)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
หัวร้อยรูเป็นไม้อิงอาศัยเกาะต้นไม้อื่น ลำต้นอวบน้ำ ที่โคนต้นโป่งพอง ภายในเป็นช่องเชื่อมติดกันโดยมีผนังหยักผิวมัน สีน้ำตาลเข้ม กั้นเป็นห้องๆ ซึ่งทะลุถึงกัน เป็นที่อาศัยของมดดำ ใบ เป็นใบเดี่ยวออกตรงข้าม รูปรีคล้ายไข่ โคนใบมน ปลายใบมน แผ่นใบหนาเรียบเนียน ก้านใบสั้น ดอก ออกดอกเดี่ยวเป็นกระจุกตามง่ามใบและรอบข้อ ขนาดเล็กไม่มีก้านดอก กลีบดอกสีขาว มี 4 แฉกโคนเชื่อมติดกันเป็นหลอด ไม่มีก้านชูอับเรณู ผล รูปรี สีเขียว ขนาดเล็กมาก เมื่อสุกเป็นสีแดงใสเต่ง
สรรพคุณทางสมุนไพร
หัว ตำกินถ่ายพยาธิ   บำรุงหัวใจ แก้พิษในกระดูก แก้พิษประดง แก้ปวดเข่า ข้อเท้าปวดบวม รักษาโรคปอด รักษาเบาหวานบำรุงน้ำนม
ทั้ง 5 บำรุงกระดูกและดับพิษในกระดูก
ประโยชน์ของหัวร้อยรู (ข้อมูลจาก http://frynn.com)
1. ว่านหัวร้อยรู สรรพคุณช่วยบำรุงหัวใจ ช่วยขับชีพจร
2. สมุนไพรหัวร้อยรู สรรพคุณช่วยป้องกันและรักษาโรคมะเร็ง (หัว) สูตรยารักษามะเร็งของศูนย์อภิบาลผู้ป่วยมะเร็งธรรมชาติบำบัด อโลคยศาล วัดคำประมง สาขาเกาะสีชัง ระบุว่าให้ใช้ หัวร้อยรู 50 กรัม, โกฐจุฬา 50 กรัม, โกฐเชียง 50 กรัม, กำแพงเจ็ดชั้น50 กรัม, ทองพันชั่ง 200 กรัม, เหงือกปลาหมอ 200 กรัม, หญ้าหนวดแมว 50 กรัม, ผีหมอบ (ไมยราบ) 100 กรัม, ข้าวเย็นเหนือ200 กรัม, ข้าวเย็นใต้ 200 กรัม, และไม้สักหิน 50 กรัม ก่อนการต้มยาให้จุดธูป 3 ดอก พร้อมเทียนคู่ และให้ทำสมาธิ ให้ระลึกถึงคุณพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ พร้อมทั้งสวดพระคาถาสักกัตวาฯ 3 จบ และอัญเชิญบารมีของพระพุทธไภษัชยคุรุไวฑูรยประภา และท่านบรมครูชีวกโกมารภัจจ์ ที่เป็นผู้คิดค้นตำรับยานี้ แล้วให้นำไปปักไว้กลางแจ้ง เป็นอันเสร็จพิธี สำหรับวิธีทำให้นำสมุนไพรทั้งหมดใส่ในหม้อดินที่ใหญ่ที่สุด และให้ใส่น้ำฝนลงไปในหม้อดินพอท่วม เพื่อแช่ยาไว้ประมาณ 10 นาที จากนั้นให้ตั้งไฟแรงปานกลางแล้วปิดฝาหม้อ ต้มให้เดือดนาน 15 นาที (เริ่มนับตั้งแต่ยาเริ่มเดือดเต็มที่) แล้วยกหม้อยาลง แล้วรินน้ำยาเก็บไว้ในหม้อเคลือบใหญ่ที่มีหูหิ้ว เบอร์ 32 (ครั้งที่ 1) หลังจากนั้นให้เติมน้ำลงไปพอท่วมยา แล้วต้มให้เดือดประมาณ 15 นาที (เริ่มนับตั้งแต่ยาเริ่มเดือดเต็มที่) แล้วรินน้ำยามาเก็บรวมกับของเก่า (ครั้งที่ 2) เมื่อเสร็จแล้วให้ใส่น้ำให้ท่วมตัวยาอีกครั้ง แล้วทำเหมือนครั้งที่ 2 ส่วนกากที่เหลือทิ้งไว้ให้เย็นแล้วนำไปเทที่บริเวณต้นไม้โพธิ์
3. หัวร้อยรู สรรพคุณทางยาสามารถช่วยรักษาเบาหวานได้[2] ด้วยการใช้หัวร้อยรู ผสมกับแก่นสัก รากทองพันชั่ง ต้นกำแพงเจ็ดชั้น หัวข้าวเย็นเหนือ หัวข้าวเย็นใต้ และหญ้ากันชาดทั้งต้น นำมาต้มเป็นน้ำดื่ม[3]
4. สรรพคุณหัวร้อยรู ช่วยแก้พิษประดง หรืออาการของโรคผิวหนังที่มีผื่นคันเป็นเม็ดขึ้นคล้ายผด มีอาการคันมาก และมักมีไข้ร่วมด้วยเสมอ (หัว)
5. หัวใช้ตำกิน สรรพคุณช่วยขับพยาธิ (หัว)
6. หัวใช้ผสมกับสมุนไพรชนิดอื่น ต้มกับน้ำดื่ม ช่วยรักษาโรคปอด (หัว)
7. ช่วยแก้พิษในข้อกระดูก หรือโรคกระดูกที่มีอาการเจ็บปวด กระดูกเปรา ผิวหนังเป็นจ้ำ มีผื่นอาจะเป็นแผลกินลึกถึงกระดูกได้ (หัว)
8. ช่วยแก้อาการปวดเข่า ข้อเข่า ข้อเท้าปวดบวม (หัว)
9. หัวร้อยรู จัดอยู่ในตำรับยา “พิกัดมหากาฬทั้ง 5” ซึ่งประกอบไปด้วย หัวร้อยรู หัวถั่วพู หัวกระเช้าผีมด มหากาฬใหญ่ และมหากาฬนกยูง โดยมีสรรพคุณช่วยดับพิษร้อน แก้พิษไข้ ถอนพิษไข้ ไข้กาฬ ประดงผื่นคัน แก้พิษอักเสบ ช้ำบวม น้ำเหลืองเสีย (หัว)
10. หัวร้อยรู สรรพคุณช่วยบำรุงน้ำนมของสตรี (หัว)
ประโยชน์หัวร้อยรู นอกจากใช้เป็นยาสมุนไพรแล้ว ยังมีประโยชน์ในเรื่องของความเชื่อ ด้วยเชื่อว่าหัวร้อยรูเป็นว่านทางเสน่ห์เมตตามหานิยม มักนำมาใช้ร่วมกับกาฝากชนิดต่างๆ เพื่อนำมาใช้ทำเป็นวัตถุมงคล

นิทานสอนเด็ก นิทานอีสป นิทานก่อนนอน

สถิติการเข้าชม